วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

หน่วยการเรียนรู้ที่4 สร้างสรรค์เว็บเพจด้วย Dreamwaever

โปรแกรม Macromedia Dreamweaver โปรแกรมสำหรับการสร้างเว็บเพจ บริหารจัดการเว็บไซต์ รวมไปถึงการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เนื่องจากตัว Dreamweaver มีความสามารถที่โดดเด่น ดังนี้ สามารถเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บได้ทุกรูปแบบ เช่น ASP, ASP.Net, ColdFusion,JSP, PHP, XML, XHTML เมนูคำสั่งและเครื่องมือต่างๆ เรียกใช้งานได้ง่ายและสะดวกมีการปรับปรุงกลไกภายในให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถสร้างแอปพลิเคชันง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรม สร้างเว็บเพจภาษาไทยได้ทันทีโดยไม่ต้องติดต้องโปรแกรมเสริมเพราะ Dreamweaver รอง











การเข้าสู่โปรแกรม Macromedia Dreamweaver


มีขั้นตอน คือ คลิกเลือก Start -> Program -> Macromedia -> Macromedia Dreamweaver 8 ในการเข้าสู่ระบบในครั้งแรกโปรแกรมจะถามรูปแบบการใช้งาน 2 รูปแบบ คือ

1. Designer หมายถึง การสร้างและออกแบบเว็บเพจโดยทั่วไป ส่วนมากนิยมเลือกรูปแบบนี้


2. Code หมายถึง วิธีการสร้างเว็บเพจที่เน้นการเขียนชุดคำสั่งเอง


เริ่มต้นการใช้งานโปรแกรม Dreamweaver MX



1. คลิกที่ปุ่ม start

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ Program

3. เลื่อนเมาส์ไปที่คลิกเลือกเมนู Macromedia

4. เลื่อนเมาส์ไปที่คลิกเลือกคำสั่ง Macromedia Dreamweaver Mx เพื่อเรียกใช้โปรแกรม จะเห็นโปรแกรม ดังรูป
หน้าต่างเว็บเพจ (Document Window)










ส่วนของหน้าต่างการทำงานของ Dreamweaver MX สามารถเลือกหน้าต่างการทำงานได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

Show Code View : เป็นหน้าต่างที่ให้แสดงเฉพาะโค้ด HTML ของหน้าเว็บเพจที่เรากำลังทำงานอยู่


 
 
 
 
 
 
 

Show Code and Design View : เป็นหน้าที่แสดงทั้งโค้ด HTML และหน้าเว็บเพจ ที่เรากำลังทำงานอยู่



Show Design View : ให้แสดงแต่หน้าเว็บเพจปกติไม่ต้องแสดงโค้ด HTMl

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

หน่วยการเรียนรู้ที่3 นำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint


การเรียกใช้โปรแกรมสร้างงานนำเสนอ มีขั้นตอนดังนี้

วิธีที่ 1

1. คลิกทีปุ่ม Start บนแถบงานของวินโดว์

2. ชี้ไปที่ Programs หรือ All Programs

3. เลือก Microsoft PowerPoint



 
 









ส่วนประกอบของหน้าต่างPowerPoint
 
 










1. แถบชื่อเรื่อง (TITLE BAR)แสดงชื่อไฟล์นำเสนอที่กำลังใช้งานอยู่ และแสดงชื่อโปรแกรม

2. แถบเมนู (MENU BAR)เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งที่ถูกจัดไว้เป็นกลุ่มๆ เรียกว่าเมนูเพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ โดยคลิกที่ชื่อเมนู หรือ กดปุ่ม Alt แล้วปล่อย แล้วกดปุ่มลูกศรเลื่อนลงในแถบเมนูจะมีเมนูที่ใช้งานดังนี้

- แฟ้ม เป็นรายการคำสั่งสร้างหรือเรียกแฟ้มออกมาใช้งาน การปิดไฟล์งานที่ละแฟ้ม การกำหนดกระดาษ การบันทึก การตั้งค่า และการพิมพ์ข้อความ การเข้า-ออกโปรแกรม เป็นต้น

- แก้ไข เป็นเมนูจัดการเกี่ยวกับการแก้ไขข้อมูล การย้าย การคัดลอกข้อความหรือรูปภาพ การค้นหา

-มุมมอง เป็นเมนูเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมกับความต้องการ

- เมนูแทรก เป็นคำสั่งช่วยงานแทรกรูปภาพ แผนผัง ตาราง วันที่และเวลา เป็นต้น

- เมนูรูปแบบ เป็นรายการคำสั่งกำหนดรูปแบบตัวอักษร จัดตำแหน่งข้อความใช้ในการกำหนดพื้นหลัง เค้าโครงภาพนิ่ง

- เมนูเครื่องมือ ใช้ในการตรวจไวยากรณ์ที่ถูกต้อง และสามารถกำหนดให้แสดงเครื่องมือที่ต้องการใช้ได้เอง

- เมนูนำเสนอภาพนิ่ง เป็นส่วนกำหนดตั้งค่าการนำเสนอภาพนิ่ง การกำหนดลักษณะภาพเคลื่อนไหวให้กับภาพนิ่ง

- เมนูหน้าต่างเป็นรายการคำสั่งใช้จัดเรียงหน้าต่างให้แยกหน้าต่าง เป็นส่วน ๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และสามารถเปิดหลายแฟ้มงานบนหน้าจอเดียวกัน

- เมนูวิธีใช้ เป็นรายการคำสั่งช่วยเหลือการใช้โปรแกรมคำศัพท์ที่ควรรู้ และคำอธิบายโปรแกรมใช้ในการขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม

3. แถบเค้าร่างภาพนิ่ง (Layout/slide) เป็นส่วนแสดงเค้าร่างของเนื้อความในภาพนิ่ง หรือแสดงภาพนิ่งขนาดย่อทั้งหมดของงานนำเสนอที่ใช้งาน

4. ปุ่มเลือกมุมมอง เป็นส่วนที่ใช้ในการเปลี่ยนมุมมองในการทำงานกับงานนำเสนอนั้น

5. แถบแสดงสถานะ (STATUS BAR)ใช้ในการแสดงสถานะและการทำงานของโปรแกรม

6. บานหน้าต่างงาน เป็นส่วนแสดงคำสั่งหรือตัวเลือกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

7. แถบเครื่องมือ เป็นส่วนแสดงคำสั่งของโปรแกรม ที่ใช้บ่อยโดยแสดงเป็นรูปภาพ แบ่งเป็น Standard Tool Bar และ Format Tool Bar
    
      Standard Tool Bar
     ใช้สำหรับทำงานพื้นฐาน เช่น การสร้างงานนำเสนอใหม่ การเปิดแฟ้มงานที่มีอยู่แล้ว การบันทึกงาน การพิมพ์งาน การตรวจสะกดไวยากรณ์ เป็นต้น

       Format Tool Bar

      ใช้สำหรับจัดรูปแบบและขนาดของตัวอักษร การจัดตำแหน่งข้อความ การเพิ่มหรือลดระยะย่อหน้า เป็นต้น

8. ปุ่ม MINIMIZE  เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับการย่อหน้าต่างของโปรแกรม Microsoft PowerPoint ให้เล็กที่สุด

9. ปุ่ม MAXIMIZE เป็นปุ่มใช้สำหรับขยายหน้าขนาดหน้าต่างของโปรแกรม Microsoft PowerPoint ให้ใหญ่ที่สุด

10. ปุ่ม CLOSE เป็นส่วนที่ใช้ในการปิดโปรแกรม








การออกจากโปรแกรมสร้างงานนำเสนอ

การออกจากโปรแกรมสร้างงานนำเสนอสามารถทำได้หลายวิธี แต่ละวิธีมีขั้นตอนดังนี้

วิธีที่ 1

1.เลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปคลิกที่ แฟ้ม > ปิด ตรงเมนูบาร์ หรือเลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปคลิกที่ปุ่ม แฟ้ม > จบการทำงาน

2.นำเมาส์ไปคลิกที่ ของหน้าต่างโปรแกรม

วิธีที่ 2

1. ออกจากโปรแกรมโดยใช้คีย์ลัด Alt+F4

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

หน่วยการเรียนรูที่2 สร้างสรรค์ ลวดลายด้วยโปรแกรม Microsoft Excel


เข้าสู่การใช้งานโปรแกรมMicrosoft Excel

1. คลิกที่ปุ่ม           


2. เลื่อนเมาส์ไปชี้คำสั่ง All program

3. เลื่อนเมาส์ไปที่ Microsoft office

4. เลื่อนเมาส์ไปที่Microsoft office Excel คลิก

ส่วนประกอบของ Microsoft Excel เมื่อเข้าสู่การทำงานของ Excel แล้วจะปรากฎหน้าต่างการทำงานซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังรูป









ส่วนประกอบของ Microsoft Excel


1. แถบชื่อ (Title Bar) คือส่วนที่แสดงชื่อ ของโปรแกรมนั้น ซึ่งคือ Microsoft Excel แสดงชื่อของแฟ้มหรือสมุดงานแทน



2. แถบคำสั่ง (Menu Bar) คือแถวที่รวมคำสั่งที่ใช้ในการทำงานได้แก่ แฟ้ม(File) แก้ไข(Edit) มุมมอง(View) แทรก(Insert) รูปแบบ(Format) เครื่องมือ(Tool) ข้อมูล(Data) หน้าต่าง(Window) ตัวช่วย(Help)



3. แถบเครื่องมือ(Tool Bar) เป็นแถบที่ใช้แสดงเครื่องมือสำหับสั่งให้ Microsoft Excel ทำงานในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ 3.1 แถบเครื่องมือมาตรฐาน(Standard Tool Bar)



3.1 แถบเครื่องมือมาตรฐาน(Standard Tool Bar)

3.2 แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ (Formating Tool Bar)





3.3 แถบเครื่องมือรูปวาด (Drawing Tppl Bar)




4. แถบสูตร (Formular Bar) เป็นส่วนที่ใช้แสดงข้อมูลและสูตรต่าง ๆ ในเซลล์ที่เรากำลังทำงานอยู่ ใช้ป้อนข้อมูลและแก้ไขข้อมูล




5. แถบชีตงาน (Sheet Bar) แสดงชื่อชีทงานที่ใช้งานอยู่




6. แถบสถานะ (Status Bar) เป็นส่วนที่แสดงสถานะการทำงานของ Excel และแป้นพิมพ์


7. แถบเลื่อน (Scroll Bar) ใช้เลื่อนเอกสารไปซ้าย - ขวา หรือ เลื่อนขึ้น - ลง